Cute Hello Kitty 9

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

3.5 ธาตุกึ่งโลหะ

 ธาตุกึ่งโลหะ  (semimetals) หรือ ธาตุเมทัลลอยด์ ( matalliods) จะอยู่ค่อนไปทางขวาของตารางธาตุจะเป็นเส้นทึบเป็นขั้นบันไดปรากฏอยู่ ซึ่งจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างโลหะและอโลหะ ซึ่งคุณสมบัติสำคัญที่ใช้จำแนกประเภทของธาตุเหล่านี้คือคุณสมบัติการนำไฟฟ้า ธาตุกึ่งโลหะส่วนใหญ่จะเป็นสารกึ่งตัวนำ ( semiconductors ) และส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบโครงผลึกร่างตาข่าย 
       
       ธาตุกึ่งโลหะ ได้แก่ โบรอน ( B )  ซิลิคอน(Si) เจอร์เมเนียม(Ge)   อาร์เซนิก(As)   พลวง(Sb)  เทลลูเรียม(Te)  พอโลเนียม(Po) และแอสทาทีน(At)

 พบว่าธาตุกึ่งโลหะส่วนใหญ่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีข้อนข้างสูง มีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นมีค่าสูง และสามารถนำไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับธาตุโลหะ สามารถเกิดสารประกอบไอออนิก และ สารประกอบโคเวเลนต์
จากสมบัติข้างต้นทำให้ได้ข้อมูลว่าตั้งแต่ธาตุโบรอนถึงธาตุแอสทาทีน โดยที่ตำแหน่งธาตุเหล่านี้อยู่ชิดเส้นทึบลักษณะขั้นบันไดในตารางธาตุตั้งแต่หมู่ 3A  ลงมามีสมบัติเป็นทั้งโลหะ และอโลหะจึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ 
( ยกเว้นธาตุ Al มีสมบัติเป็นโลหะ และ Po และAt เป็นธาตุกัมมันตรังสี )            


                                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น